วินาศภัยบรรเทาได้ ด้วยการประกันภัย

คำถามที่พบบ่อย

  • ทำไมเราต้องซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ

                ปัจจุบันเกิดภัยธรรมชาติขึ้นอย่างบ่อยครั้ง เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และลมพายุ ซึ่งแต่ละครั้งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เราควรซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สิน และเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางการเงินในเบื้องต้นเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้น

  • ประชาชนจะมั่นใจได้อย่างไรว่ากองทุนฯ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยง และจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยได้อย่างครบถ้วน

    กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ (กองทุนฯ) จัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยการรับประกันภัย และทำประกันภัยต่อโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน ดังนั้น ประชาชนผู้เอาประกันภัยผู้ประกอบการ สามารถมั่นใจได้ว่ากองทุนฯ มีศักยภาพ และมีความพร้อมที่จะรองรับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

  • กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติให้ความคุ้มครองในกรณีใดบ้าง

    กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติจะให้ความคุ้มครองในกรณีที่คณะรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรงตามคำแนะนำของกระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือค่าสินไหมทดแทนรวมของผู้เอาประกันภัย ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติมากกว่า 5 พันล้านบาทต่อหนึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใน 60 วันโดยมีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป หรือกรณีแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงตั้งแต่ 7 ริกเตอร์ขึ้นไปหรือกรณีลมพายุที่มีความเร็วลมพายุตั้งแต่ 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  • กรณีประชาชนที่มีห้องพักอยู่ในคอนโดมิเนียมสูง ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม มีความจำเป็นอย่างไรที่จะต้องซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ

    ประชาชนที่มีห้องพักในคอนโดฯสูง อาจไม่ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากภัยลมพายุ ภัยแผ่นดินไหว รวมถึงการเกิดสึนามิด้วยซึ่งหากประชาชนซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ ก็จะได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สินที่เกิดความเสียหายจากภัยดังกล่าวด้วย

  • ในกรณีที่ประชาชนอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับน้ำ หรือกักเก็บน้ำสามารถซื้อความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติได้หรือไม่

    ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เขตรับน้ำ หรือกักเก็บน้ำไม่สามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติได้ เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการให้ ความช่วยเหลือ และชดเชยโดยตรงแก่ประชาชนผู้อยู่ ในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว

  • กรณีทำประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัยแบบเดิม โดยขยายความคุ้มครองน้ำท่วมไว้ ต่อมาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติเพิ่มแล้วปรากฏเหตุการณ์น้ำท่วมพื้นบ้านสูง 70 ซม.รัฐบาลประกาศเป็นภัยพิบัติบ้านได้รับความเสียหาย100,000 บาทการจ่ายค่าสินไหมทดแทนจะจ่ายอย่างไร

     ผู้เอาประกันภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 50,000 บาท ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ และอีก 50,000 บาท จากความคุ้มครองน้ำท่วมของกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยที่ขยายความคุ้มครองไว้

  • เราสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยภัยพิบัติได้จากที่ใด และกรณีเกิดปัญหา บริษัทประกันภัยปฏิเสธการขายและชำระค่าสินไหมทดแทนจะต้องดำเนินการอย่างไร

    ประชาชนสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติได้จากบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ หากกรณีบริษัทรับประกันภัยปฏิเสธการขายกรมธรรม์ หรือการชำระค่าสินไหมทดแทน ผู้เอาประกันภัยสามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงาน คปภ.ส่วนกลางสำนักงาน คปภ. เขต และสำนักงาน คปภ. จังหวัดทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186 เว็บไซต์ www.oic.or.th

  • กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย และภัยพิบัติสำหรับที่อยู่อาศัยให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง

    กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย และภัยพิบัติสำหรับที่อยู่อาศัยให้ความคุ้มครอง ไฟไหม้ ฟ้าฝ่า การระเบิดทุกชนิด ภัยจากยานพาหนะ ภัยจากอากาศยาน ภัยเนื่องจากน้ำ (แต่ไม่รวมน้ำท่วม) และค่าเช่าที่อยู่อาศัยชั่วคราวที่เกิดจาก 6 ภัยแรก รวมถึงภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำท่วม แผ่นดินไหว และลมพายุ

  • ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย หรือไม่

     กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยและภัยพิบัติสำหรับที่อยู่อาศัยสามารถแยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ หนึ่งสำหรับความคุ้มครองอัคคีภัยที่อยู่อาศัย ซึ่งระยะเวลาเอาประกันภัยสามารถทำเป็นระยะยาวได้ แต่ส่วนที่ 2 สำหรับความคุ้มครองภัยพิบัติมีระยะเวลาเอาประกันภัยเพียง 1 ปีเท่านั้น

  • ประชาชนต้องทำอย่างไรในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ วิธีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นอย่างไร

    ในกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ ให้ประชาชนรีบแจ้งบริษัทประกันภัย พร้อมเก็บรวบรวมเอกสารหลักฐานความเสียหาย และร่ายละเอียดของทรัพย์สิน โดยบริษัทประกันภัยจะเข้าสำรวจและประเมินความเสียหาย และจะจ่ายค่าสินไหมตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ ยกเว้นกรณีภัยพิบัติน้ำท่วม บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยจะพิจารณาที่ระดับของน้ำเป็นเกณฑ์

  • กรณีน้ำท่วมเฉพาะในโรงรถ โดยที่น้ำไม่ได้เข้าท่วมพื้นบ้าน ประชาชนจะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่

    ไม่ได้ เพราะว่าโรงรถไม่ได้ถือว่าเป็นพื้นที่ ที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย

  • กรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ รวมความคุ้มครอง ภัยสึนามิหรือไม่

    ภายใต้คำจำกัดความของคำว่า “ภัยพิบัติ” หากเหตุการณ์สึนามินั้น เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงตั้งแต่ 7 ริกเกอร์ขึ้นไป หรือรัฐบาลประกาศเป็นภัยพิบัติ ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติ

  • เมื่อกองทุนเริ่มดำเนินการแล้ว บริษัทประกันภัยจะสามารถขายประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยแบบเดิมได้หรือๆไม่

    ไม่ได้ เนื่องจากนายทะเบียนจะประกาศยกเลิกกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยแบบเดิม แต่กรมธรรม์ประกันภัยที่ได้ขายไปแล้ว บริษัทประกันภัยยังคงให้ความคุ้มครองจนกว่า กรมธรรม์ประกันภัยจะหมดอายุ

  • ขั้นตอนการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบ้านอยู่อาศัย ในกรณีภัยพิบัติน้ำท่วมมีข้อกำหนดอย่างไร

    ประชาชนผู้เอาประกันที่ประสบภัยพิบัติต้องยื่นหลักฐานรูปถ่ายบ้านน้ำท่วม พร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัย และภัยพิบัติสำหรับที่อยู่อาศัย ต่อบริษัทประกันภัย ทั้งนี้ จำนวนเงินความคุ้มครองขึ้นอยู่กับระดับความสูงของน้ำ

  • การจำกัดความรับผิด (Sublimit) หมายความว่าอย่างไร และความรับผิดส่วนแรก(Deductible) หมายความว่าอะไร

    การจำกัดความรับผิด (Sublimit) หมายความว่า การจำกัดความรับผิด ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัย / ความรับผิดส่วนแรก(Deductible) หมายถึง จำนวนค่าสินไหมทดแทนส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง

  • ในกรณีที่เกิดสึนามิ และรัฐบาลประกาศให้เป็นภัยพิบัติ บริษัทประกันภัยจะใช้เกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมเดียวกับ กรณีภัยพิบัติจากน้ำท่วมหรือไม่

    ใช้เกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมตามความเสียหายที่เกิดจริงเหมือนกัน ยกเว้นกรณีภัยพิบัติจากน้ำท่วมในภาคครัวเรือน ที่เกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน โดยใช้วัดจากระดับความสูงของน้ำ